วิธีการคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ

  
  ปริมาณเสาเข็มจะขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนักทั้งหมด โดยสามารถให้ผู้ออกแบบกำหนดให้ ส่วนระยะห่างของการเจาะเสาเข็มกับผนังอาคาร หากเราต้องการเจาะเสาเข็มเจาะ ใกล้กับผนังอาคาร หรือ รั้ว ระยะห่างของเสาเข็มที่น้อยที่สุด โดยปกติแล้วหากเสามีขนาด 35 ต้องห่างอย่างน้อย 70-80 ซม. และหากเสามีขนาด 50 ต้องห่างอย่างน้อย 90-100 ซม.

  ส่วนการออกแบบระยะและขนาดของเสาเข็มเจาะ ต้องมีการคำนวณจากวิศวกรหรือผู้ออกแบบที่มีความชำนาญ และต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักและแบบของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ

  ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วขนาดของเสาเข็มเจาะมาตรฐานที่มีให้บริการมี 4 ขนาดคือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร, เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร, เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร

  ตารางแสดงการรับน้ำหนักที่ปลอดภัยเปรียบเทียบกับขนาดของเสาเข็มเจาะ

ขนาดเสาเข็มเจาะ
(ซม.)
พื้นที่หน้าตัด
(ตร.ซม.)
เส้นรอบวงเสาเข็มเจาะ
(ซม.)
ความลึก
(เมตร)
รับนน.ปลอดภัย
(ตัน)
35 962 110 16-23 30-40
40 1,256 126 16-23 30-52
50 1,963 157 16-23 50-70
60 2,827 188 16-23 70-90

 

  จากตารางดังกล่าวต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้คือ

  - ความลึกของเข็มเจาะ
ในตารางขึ้นอยู่กับลักษณะกายภาพของดินในบริเวณนั้นๆ

  - การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะเป็นการ ประมาณจาก สภาพดิน ทั่วไปในบริเวณกรุงเทพฯ

  - การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะเป็นค่าประมาณ (คำนวณมาจากเงื่อนไขของกำลังอัดคอนกรีตที่อายุ 28 วัน (Fc’) ที่ 175 ksc, เหล็กเสริมขนาด DB12mm. SD40 + เหล็กปลอกเกลียวขนาด RB6 mm. @ 0.25 SD24)


  • ในปัจจุบันนี้การใช้งานเสาเข็มเจาะในงานฐานรากนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องจากเสาเข็มเจาะนั้นตอบสนองความต้องการของวิศวกรผู้ออกแบบได้อย่างมาก และเนื่องด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เกิ...

  • เสาเข็มแบบตอกนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกันกับเสาเข็มประเภทอื่น ๆ ซึ่งพื้นฐานทั่วไปของการใช้งานเสาเข็มแบบตอก จะนิยมใช้ในบริเวณที่สิ่งก่อสร้างอยู่ห่างจากชุมชนหรือมีสถานที่ก...

  • ประเภทของเสาเข็มเสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concret...